หลักสูตรการดูแลผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

ที่มาของหลักสูตร
ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) เป็นโรคทางจิตเวชเด็กที่พบในมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 5 ของเด็กวัยเรียน มีความรุนแรงหลากหลายระดับ หากได้รับการรักษาล่าช้า มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เด็กโรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้องตั้งแต่ยังเล็ก จะพบปัญหาการเรียน, ปัญหาพฤติกรรม, การทำงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น และมีโอกาสใช้สารเสพติด ทำผิดทางกฎหมาย และ ก่อคดี จนกลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคม ซึ่งหากคัดกรองและดูแลได้ตั้งแต่อายุน้อยจะช่วยลดปัญหาต่างๆลงได้มาก ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น แต่เข้าสู่ระบบการรักษาได้ช้าเนื่องจากจำนวนจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นรวมถึงบุคลากรทางสาธารณสุขที่ให้บริการด้านจิตเวชเด็กจำกัด ไม่ได้มีทุกพื้นที่ การเข้าถึงบริการลำบาก ประกอบกับเด็กเล็กส่วนใหญ่ได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์ตั้งแต่คลินิกเด็กดี ถ้าเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นในพื้นที่บริการสาธารณสุขของตน จะช่วยให้ได้รับการบำบัดรักษาเร็วขึ้น และลดความรุนแรงของอาการไปได้
จุดประสงค์
เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีองค์ความรู้ สามารถดูแลผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นในเขตของตน โดยเข้าถึงการบริการได้เร็ว สามารถดูแลต่อเนื่องเพื่อให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น มีพัฒนาการได้ปกติตามวัย
ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
- สามารถอธิบายความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น
- สามารถประเมินและรายงานผลแบบคัดกรอง SNAP IV
- สามารถอธิบายการใช้ยาในการรักษาโรคสมาธิสั้นได้
- สามารถจัดการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น วิเคราะห์และให้คำแนะนำปัญหาการปรับพฤติกรรมแก่ผู้ปกครองได้
- สามารถแนะนำส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้ปกครองได้
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
20 คน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาการ/จิตเวชเด็ก เพื่อที่จะดำเนินการเปิดบริการ
- มีความรู้ และ แนวทางการดูแล 4 โรคหลักจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
- สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ทั้งระยะที่ 1 และ 2
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ระยะที่ 1 : เข้ารับการอบรมจำนวน 3 วัน
ระยะที่ 2 : เข้ารับการอบรมจำนวน 2 วัน
รวมเวลาอบรม 5 วัน
สถานที่ฝึกอบรม
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
วิทยากร
บุคลากรสหวิชาชีพ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
วิธีการฝึกอบรม
- เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning)
- การบรรยาย (lecture)
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion)
- กรณีศึกษา (Case consultation)
- การสอนแสดง (Demonstration)
- การฝึกทักษะด้วยการลงมือปฏิบัติ (Practicum)
ตารางสอน ระยะที่ 1
วันที่ 1 | 8.30-10.30 | Orientation ประเมินความรู้ |
10.30-12.00 | Discussion เรื่องโรคและการดูแล | |
13.00-14.30 | lecture & Discussion การส่งเสริมการเรียนรู้ | |
14.30-16.00 | Discussion การปรับพฤติกรรม | |
วันที่ 2 | 8.30-12.00 | Practice คัดกรองผู้ป่วย |
13.00-14.30 | Practice การส่งเสริมการเรียนรู้ | |
14.30-16.00 | Practice การปรับพฤติกรรม | |
วันที่ 3 | 8.30-10.30 | Practice การปรับพฤติกรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ (1) |
10.30-12.00 | Practice การปรับพฤติกรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ (2) | |
13.00-16.00 | อภิปราย ถาม-ตอบ / สรุป AAR |
ตารางสอน ระยะที่ 2
วันที่ 1 | 8.30-12.00 | Discussion/Case consultation 1 (VDO/ ประวัติ) |
13.00-16.00 | Demonstration กลุ่มผู้ปกครองการประเมินและส่งเสริมการเรียนรู้ | |
วันที่ 2 | 8.30-12.00 | Practice การปรับพฤติกรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ |
13.00-16.00 | Discussion/Case consultation 2 (VDO/ ประวัติ) |