หลักสูตรการบำบัดรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

ที่มาของหลักสูตร
ผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึม (Autism spectrum disorder : ASD) เป็นโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ที่มีความผิดปกติของสมองและพัฒนาการ (neurodevelopmental disorder) เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะเฉพาะ มีความซับซ้อนของอาการ ผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมที่ได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยโรค และ เข้าสู่ระบบการรักษากระตุ้นพัฒนาการในระยะแรกเริ่ม (early intervention) ในช่วงก่อนอายุ 3 ปี เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยมากที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก จะมีพยากรณ์โรคที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่ง WHO พบว่าการดูแลผู้ป่วยที่ได้ผลดีที่สุดคือการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้อย่างปกติสุขตามศักยภาพของผู้ป่วย ดังนั้นการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและได้รับการดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคและผลกระต่อครอบครัวและสังคมได้มาก
จุดประสงค์
เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีองค์ความรู้ สามารถดูแลผู้ป่วยโรคออทิซึมในเขตของตน โดยเข้าถึงการบริการได้เร็ว สามารถดูแลต่อเนื่องเพื่อให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น มีพัฒนาการใกล้เคียงเด็กอื่นในวัยเดียวกัน และใช้ชีวิตในชุมชนได้ตามศักยภาพ
ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
- สามารถอธิบายความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการออทิซึม
- สามารถประเมินและรายงานผล
- แบบคัดกรองกลุ่มอาการออทิซึมในเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
- แบบคัดกรอง Pervasive Developmental Disorders Screening Questionnaire (PDDSQ) 1-4 ฉบับย่อ
- สามารถอธิบายการใช้ยาในการรักษากลุ่มอาการออทิซึมได้
- สามารถจัดการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมได้
- สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการพูดเบื้องต้นให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมได้
- สามารถวิเคราะห์และให้คำแนะนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทรับความรู้สึก (Sensory Integration : SI ) ได้
- สามารถวางแผนวางแผนการฝึกผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมได้
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
20 คน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาการ/จิตเวชเด็ก เพื่อที่จะดำเนินการเปิดบริการ
- เคยรับการอบรมเรื่องพัฒนาการเด็ก (ผ่านการอบรม TEDA4I หรือ on the job training) และมีประสบการณ์การฝึกกระตุ้นพัฒนาการโดย TEDA4I > 20 ราย
- สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ทั้งระยะที่ 1 และ 2
ระยะเวลาการฝึกอบรม
ระยะที่ 1 : เข้ารับการอบรมจำนวน 3 วัน
ระยะที่ 2 : เข้ารับการอบรมจำนวน 2 วัน
รวมเวลาอบรม 5 วัน
สถานที่ฝึกอบรม
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
วิทยากร
บุคลากรสหวิชาชีพ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
วิธีการฝึกอบรม
- เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning)
- การบรรยาย (lecture)
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion)
- กรณีศึกษา (Case consultation)
- การสอนแสดง (Demonstration)
- การฝึกทักษะด้วยการลงมือปฏิบัติ (Practicum)
ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
เพื่อเพิ่มทักษะการวินิจฉัยฯ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม เมื่อผู้เข้ารับการอบรมกลับไปปฏิบัติหน้าที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยในพื้นที่ต่างๆเข้าถึงบริการได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาการรอคอย และลดปัญหาอาการรุนแรงจากการรักษาช้า รวมทั้งมีส่วนลดภาระของครอบครัวที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยอาการรุนแรงในอนาคตด้วย
ตารางสอน ระยะที่ 1
วันที่ 1 | 8.30-10.30 | Orientation ประเมินความรู้ |
10.30-12.00 | Discussion เรื่องโรคและการบำบัดรักษาเบื้องต้น | |
13.00-14.00 | Lecture & Discussion การปรับพฤติกรรม | |
14.00-15.00 | Lecture & Discussion การฝึกพูดเบื้องต้น | |
15.00-16.00 | Lecture & Discussion กิจกรรมบำบัด | |
วันที่ 2 | 8.30-12.30 | Practice คัดกรองผู้ป่วย |
13.00-14.30 | Lecture & Discussion การฝึกผู้ป่วย และ การปรับพฤติกรรม | |
14.30-16.00 | Practice การฝึกผู้ป่วย และ การปรับพฤติกรรม (1) | |
วันที่ 3 | 8.30-10.30 | Practice การฝึกผู้ป่วย และการปรับพฤติกรรม (2) |
10.30-12.00 | Practice การฝึกผู้ป่วย และการปรับพฤติกรรม (3) | |
13.00-16.00 | อภิปราย ถาม-ตอบ / สรุป AAR |
ตารางสอน ระยะที่ 2
วันที่ 1 | 8.30-10.00 | Demonstration & Practice กลุ่มผู้ปกครองการส่งเสริมพัฒนาการ |
10.00-12.00 | Demonstration & Practice การส่งเสริมพัฒนาการรายบุคคล | |
13.00-16.00 | Discussion/Case consultation 1 (VDO/ ประวัติ) | |
วันที่ 2 | 8.30-10.00 | Demonstration & Practice การฝึกพูดเบื้องต้น |
10.00-12.00 | Demonstration & Practice กลุ่มกิจกรรมบำบัด | |
13.00-16.00 | Discussion/Case consultation 2 (VDO/ ประวัติ) |